วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

คึกอยากจะทบทวน GWT Framework part 3

Sample GWT Picture

: Hello World กับ onModuleLoad

จาก part ที่ผ่านมา เราลบโค้ดออกเกือบหมด คงเหลือไว้เพียง

package com.sample.client;
import com.google.gwt.core.client.EntryPoint;
public class TestBeginMVP implements EntryPoint {
    @Override
    public void onModuleLoad() {

    }
}

จะเห็นได้ว่า ตอนนี้เรากำลังอยู่ที่ฝั่ง client (ดูจาก package) และรับเอากติกาชื่อ EntryPoint เข้ามาใช้ เพื่อกำหนดให้คลาสนี้มี onModuleLoad ซึ่งจะเป็นเมธอดแรกสำหรับเริ่มการทำงานตลอดทั้ง project

เมื่อดูจากรูป ผมเรียกใช้คลาส HTML สองครั้งเพื่อสร้างสตริง
"Hello World!" กับสตริง
"ProSbeginner or PhaiPanda"
โดยให้มันทั้งสองถูกวางไว้บน panel ที่เกิดจากคลาส VerticalPanel เสียก่อนแล้วค่อยนำมันไปวางไว้บน panel หลักที่เรียกว่า RootPanel อีกทีหนึ่ง

คำถามคือ RootPanel คืออะไร? สำคัญอย่างไร?
ตอบ RootPanel คือพื้นที่โดย default ที่เป็นตัวเริ่มต้นที่ทำหน้าที่เป็นรากฐานที่ใช้แสดง Widgets ทั้งหลาย

ลองคิดถึงจานหนึ่งใบที่ถูกกำหนดให้วางอยู่อย่างนั้น (วางไว้ที่ไหนสักแห่ง) ขอเรียกจานใบนี้ว่า จาน RootPanel ทีนี้หากเราต้องการวางจานอีกใบลงไปหรือวางสิ่งของอย่างอื่น กติกาคือเราต้องวางลงบนจาน RootPanel นี้ก่อนแล้วกองซ้อนกันขึ้นไป ไม่อย่างนั้นมันก็จะไม่แสดงผลออกมา

สิ่งที่จะวางบน RootPanel ได้ก็คือ Widget (คลาสใดๆที่ฝั่ง GWT เรียกใช้) ในตัวอย่างก็คือคลาส VerticalPanel (วางแบบแนวตั้ง) ซึ่งเราอาจเปลี่ยนเป็น HorizontalPanel (วางแบบแนวนอน) ก็ได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GWT Javadoc
http://www.gwtproject.org/javadoc/latest/allclasses-noframe.html

และ part หน้าเราจะลองใช้ปุ่มเพื่อแสดง Alert ง่ายๆกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น