วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

โครงสร้างข้อมูล Collection

นี่เป็นครั้งแรกที่ผมสร้างบล็อก ผมชื่อ "ไผ่" อยากแบ่งปันน้ำใจเล็กน้อย และเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆที่เริ่มเขียนโปรแกรมทุกคน ไม่อยากให้ท้อถอย

บล็อกแรกและบทความแรกนี้อยากพูดถึงจาวากันก่อน ผมจะกล่าวเฉพาะรายละเอียดที่จำเป็นเท่านั้น ใครที่เรียนวิชา CT214 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็คงทราบดีว่า วิชานี้ต้องเอาใจใส่ไม่น้อยทีเดียว อีกทั้งยังสำคัญมากด้วย ^^

เนื้อหาใน pro7beginner.blogspot.com จะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมล้วนๆ เท็จจริงอย่างไรไม่รับผิดชอบนะขอรับ

เริ่มต้นกันด้วย Collection หรือการเก็บสะสม เรามักตั้งชื่อให้มีคำว่า Collection เป็นส่วนประกอบ เพื่อบอกความต้องการสะสม เท่านั้นเอง ชื่ออื่นก็ได้

ภายใน Collection จะประกอบไปด้วยเมทธอด (Method) ที่มีแต่ส่วนหัว จะมีตั้งแต่หนึ่งเมทธอดขึ้นไป เมื่อเรา implements เจ้า Collection ตัวนี้เข้ามาแล้วเราจะต้องสร้างหน้าที่การทำงานให้กับมัน ใครที่เริ่มต้นเขียนจาวา แล้วก็บังเอิญมาอ่านเจอบทความนี้ ถ้ารู้สึกว่าคิ้วชนกันแล้ว ก็แสดงว่าท่านเข้าใจแล้วหล่ะ ^^

//บันทึกชื่อ MyCollection.java
1. public interface MyCollection {
2. public void add(Object obj); //ส่วนหัวของเมทธอด add
3. public boolean remove(Object obj); //ส่วนหัวของเมทธอด remove
4. }

เริ่มต้นก็ง่ายๆก่อนแล้วกันนะครับ
บรรทัดที่ 1. หากเรียงตามลำดับแล้วก็จะประกอบด้วย ขอบเขต-ชนิดอินเตอร์เฟต-ชื่อของอินเตอร์เฟต
บรรทัดที่ 2. หากเรียงตามลำดับแล้วก็จะประกอบด้วย ขอบเขต-ชนิด-ชื่อของเมทธอด-(ชนิดของตัวแปร-ตัวแปร)
เพื่อนๆจะเห็นว่า Collection นี้มีหน้าที่อยู่สองอย่าง ถ้าหากพิจารณาจากชื่อของมันนะ ได้แก่ เพิ่ม (add) กับ ลบทิ้ง (remove) ถ้าหากเราต้องการใช้คุณสมบัติของ Collection นี้เราจะต้องใช้คำว่า implements ต่อท้ายชื่อคลาสของเรา จากนั้นเขียนส่วนหัวและส่วนทำงานให้กับเมทธอดทั้งสองของ Collection ในคลาสดังกล่าวด้วย
บล็อกหน้าเราจะนำ Collection นี้มาใช้งานกับ Array ดูซิว่าจะต้องเขียนอย่างไร

อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ถัดไป