วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เริ่มต้นเรียนรู้ Oracle Database part 2

: มาเริ่มกันใหม่กับเวอร์ชัน 11g Release 2 หลังจากผมคลำ 12c ด้วยตาอันมืดบอด

>> เอกสารภาษาบ้านเราน้อย ไหน You tube ก็เป็นประกิตของพี่อินเสียเยอะ ลำพังภาษาอังกฤษส่วนตัวก็งูๆไก่ๆ ฟังไม่ออกอ่านไม่รู้เรื่อง 555 (มันเขียนอะไรกันว่ะ แล้วนี่มันศัพท์อะไร ย่อกันเต็มไปหมด) ตามประสาเด็กใหม่ของวงการ ขอขยับลงไปที่ 11g ก่อนก็แล้วกันนะครับ

>> อย่างแรกเลย ตัวย่อ g หรือ c นี่คืออะไร?
ตอบ เท่าที่ศึกษาจากเว็บ c ย่อมาจาก Cloud ดังนั้นฐานข้อมูลของ 12c สามารถบริหารจัดการได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเป็นส่วนตั๊วส่วนตัว คือมีพื้นที่ให้เช่าเก็บข้อมูล เรียกกันว่าเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง ส่วน g ย่อมาจาก Grid เป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผนวกให้ทำงานร่วมกันได้ เช่น storage, database server, application server (ศัพท์ประหลาดมาอีกแล้ว 55 เบื่อจริงยังไม่ชิน) เอาเป็นว่าทั้ง g และ c คือวิวัฒนาการเทคโนโลยีของบริษัท Oracle ก็แล้วกันนะครับ

>> ภาษา SQL ใช้ติดต่อฐานข้อมูลเพื่อจัดการกับข้อมูลยังไม่ดีพอ?
เดิมการติดต่อฐานข้อมูลด้วยภาษา SQL นั้นก็เพียงพอกับระบบฐานข้อมูลทั่วไปที่ไม่เน้นการจัดการด้านทรัพยากรเวลาสักเท่าไร สมมติว่าเรามีคำสั่ง SQL อยู่สิบคำสั่งส่งไปที่เครื่อง server หลังจากประมวลผลคำสั่ง SQL เหล่านั้นสำเร็จ เครื่อง server ก็จะส่งข้อมูลกลับมาอีกสิบครั้ง ทำนองว่าไปสิบกลับสิบ ถามว่าแบบนี้มีผลต่อการตอบสนองของโปรแกรมที่รอรับข้อมูลดังกล่าวหรือไม่ ขอตอบว่าแน่นอน

>> แล้ว PL/SQL เหนือกว่าอย่างไร?
ตอบอย่างเกรียนๆก่อนเลย เพราะว่ามันมีราคามากับระบบฐานข้อมูลยี่ห้อ Oracle ซึ่งความเข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมและหน่วยความจำย่อมถูกจัดการมาดีกว่า (ของมันแพงไง) เขาว่ากันว่าหากมีภาษา SQL อยู่แล้วก็เอามารวมกันซะ แล้วเขียนในรูปแบบ procedure หรือไม่ก็ function ด้วยโครงสร้างของ PL/SQL แล้วเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล Oracle เลย (เครื่อง server ที่ติดตั้งฐานข้อมูล Oracle) จากนั้นให้โปรแกรมที่ต้องการข้อมูลมาเรียก PL/SQL นี้อีกที เพราะมันมีระบบจัดการเวลาที่ให้ประสิทธิภาพดีกว่า SQL เยอะ ยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความดีของ PL/SQL อีกมากมายนัก เอาเป็นว่าใช้เถอะว่างั้น

>> ไว้ติดตั้งเจ้า 11g นี่เรียบร้อยก่อนแล้วจะมาเล่าต่อ เรื่องต่อไปที่ต้องเจอคงหนีไม่พ้นการจัดการสิทธิ์และผู้ใช้งาน ไว้เจอกันนะค๊าบบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น