วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาษา JavaScript ฉบับผู้เริ่มต้น part 12-2

: Arrays กับความสามารถของมัน

>> เมื่อเพื่อนๆได้รู้จักอาร์เรย์ไปบ้างแล้ว เพื่อนๆควรทราบว่าเราสามารถสร้างอาร์เรย์ว่างได้ หรือก็คืออาร์เรย์ที่มีขนาดเป็นศูนย์ หรือกล่าวว่ายังไม่มีสมาชิกนั่นเอง เราเรียกอาร์เรย์ลักษณะนี้ว่า Empty Array ครับ

- สร้าง array ด้วย array literal ตัวอย่างเช่น
var sims = [ ];
- สร้าง array ด้วย array constructor ตัวอย่างเช่น
var weights = new Array();

>> เรายังสามารถจองพื้นที่หรือจองขนาดของอาร์เรย์ได้ด้วย เช่น จองอาร์เรย์สำหรับเก็บหมายเลขโทรศัพท์ของซิมจำนวนสิบหมายเลข จะเขียนได้ว่า
var sims = new Array(10);

>> เราสามารถสอบถามขนาดของอาร์เรย์ได้ โดยถามจากพร็อพเพอร์ตี้ชื่อ length ดังนี้
sims.length จะได้ค่าเท่ากับ 10
weights.length จะได้ค่าเท่ากับ 5

>> และยังปรับลดขนาดของอาร์เรย์ได้ดั่งใจ ตัวอย่างเช่น

sims.length = 3; หมายความว่าขณะนี้เหลือซิมเพียงสามหมายเลขเท่านั้น คือหมายเลข ณ sims[0], sims[1] และ sims[2] ที่เหลือหายไปสิ้นแล้ว โปรดระวังการลดขนาดอาร์เรย์ เพราะจะทำให้สูญเสียข้อมูล

weights.length = 20; หมายความว่าขณะนี้มีผู้ต้องการเข้าร่วมโครงการลดน้ำหนักเพิ่มเป็น 20 คน (จากเดิม 5 คน) ซึ่งการเพิ่มขนาดของอาร์เรย์ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อข้อมูลเดิมที่มีอยู่

>> ตัวอย่างต่อไปนี้คือโปรแกรมสอบถามความต้องการของผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในโครงการที่มีชื่อว่า 'ปันบ้านสร้างมิตร คืนชีวิตที่เป็นสุขให้กับคุณและครอบครัว'


เราจะสังเกตได้ว่ามีการอ้างถึงตัวแปรที่มีชนิดเป็นอาร์เรย์ด้วย ดังนี้

- elements.length ขอขนาดของอาร์เรย์ตามจำนวนสมาชิกที่บรรจุอยู่ภายในฟอร์ม ซึ่งได้ค่าเท่ากับ 4

- elements[optionSize - 1] อ้างถึงสมาชิกลำดับที่ 4 (มีค่า index เท่ากับ 3) หรือก็คือตัวเลือกที่มีชื่อว่า 'เลือกทั้งหมด' นั่นแหละครับ

- elements[index] หมายถึงตัวเลือกใดๆที่บรรจุอยู่ภายในฟอร์ม จากโค้ดเป็นไปได้สามค่า ได้แก่ elements[0], elements[1] และ elements[2] หรือก็คือตัวเลือกลำดับที่ 1, 2 และ 3

>> ตัวอย่างนี้แถมเรื่องฟังก์ชัน (Function) มาด้วย แน่นอนว่าจะต้องกล่าวถึงใน part ต่อๆไป จบเรื่องฟังก์ชันคงได้มันส์กันมากกว่านี้ หุหุ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น