วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Java and C# for MiniCompiler part 5

จาก part ที่แล้วที่ว่า คลาสใดๆจะใช้ public class และ Package กับ Name space คือสิ่งจำเป็นยิ่งที่จะใช้ระบุว่าคลาสหรือกลุ่มคลาสที่เราต้องการใช้งานนั้นอาศัยอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด ใช่ครับ นั่นคือสามารถเรียกใช้คลาสหรือกลุ่มคลาสที่เตรียมไว้ให้ (ไลบรารี่มาตรฐาน) จากไลบรารี่ภาษาจาวาหรือภาษาซีชาร์ปก็ย่อมได้ หรือจะสร้างไลบรารี่ขึ้นมาเองก็ได้ ในขณะนี้ขอให้พิจารณาการเรียกใช้คลาสหรือกลุ่มคลาสจากไลบรารี่มาตรฐานก่อน ส่วนการสร้างเองนั้นหากมีโอกาสยัง part ต่อๆไปคงได้กล่าวถึง

กลับมาทบทวนฟังก์ชันหลักกันอีกสักครั้ง นั่นคือฟังก์ชัน main เราทราบแล้วว่า (คุยไปคุยมาจากคำว่า 'เพื่อนๆ' กลายเป็นคำว่า 'เรา' ไปซะได้ แฮ่ๆ) ภาษาจาวามีรูปแบบการเขียนฟังก์ชัน main ดังนี้
public static void main(String[] args)

ส่วนภาษาซีชาร์ปเขียนอย่างนี้
static void Main(String[] args)

อยากให้เราเข้าใจว่าเขากำหนดมันมาแบบนี้ก็เพื่อประโยชน์บางอย่าง เอาล่ะดูวีดีโอของคุณ Narinthone ต่อกันเลย


กล่าวโดยสรุปได้ว่า
- เขาเรียกฟังก์ชัน main ที่เราเข้าใจว่า 'เมธอด' (Method) ซึ่งตอนนี้ยังไม่ต้องสนใจว่าเหตุใดจึงเรียกแบบนั้น เอาเป็นว่าเรียกฟังก์ชันเป็นเมธอดตามเขาไปก่อนนะครับ
- เมธอดหลักนี้มีความสามารถที่จะทำงาน (ในที่นี้คือแสดงผลออกทางจอดำ) ด้วยตัวเอง (ที่จริงไม่ช่ายหรอกนะ ทำงานได้เพราะ Thread) และแต่ละคลาสมีเมธอดหลักได้หนึ่งเมธอดเท่านั้น
- เมธอดหลักที่ว่านี้เริ่มต้นจากคำว่า 'public' แล้วตามด้วยคำว่า 'static' ทั้งภาษาจาวาและซีชาร์ปต่างก็นิยามความหมายของสองคำนี้เหมือนกัน กล่าวคือ public เป็นสาธารณะ ใครก็สามารถมองเห็นแล้วนำไปใช้งานได้ ส่วน static หมายถึงทำให้มีอายุเท่ากับคลาส อั่นแน่ อายุเท่ากับคลาสอย่างนั้นเหรอ ? คืออะไรงะ ไว้ค่อยอธิบายใน part อื่นครับ
- พารามิเตอร์ของเมธอดหลักคือ String[] args โดยมีความหมายเดียวกับโค้ดด้านล่างนี้ของภาษาซี

จาวาและซีชาร์ป
ซี (รูปแบบที่ 1)
ซี (รูปแบบที่ 2)
String[] args
char** args
char* args[]

และเขาเรียกตัวแปรชื่อ args ว่าตัวแปรที่มีชนิดเป็น อาร์เรย์ของสตริง ซึ่งจะกล่าวอย่างละเอียดในภายหลัง (สำคัญมากเชียวล่ะ)

โอเค part นี้เนื้อหาเยอะเกินไปแล้ว มือใหม่อาจฉงนได้ ไว้เจอกันใหม่ครับเพื่อนๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น